มารู้จักภาษาPHP

พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์สภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว

จะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูล เพื่อนำไปแสดงผลบนอินเตอร์เน็ตตามความต้องการของผู้ใช้งานที่คลิกเข้าไปนั่น เอง

การเขียนโปรแกรมจะมีอยู่ 2 แบบครับ (ส่วนของ MOBILE APP จะขอไม่กล่าวถึงนะครับ ^^")
  1. Windows based
  2. Web based

จะมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ การเรียกใช้ทรัพยากรของเครื่องต่างกัน

1. Windows based คือโปรแกรมที่ต้องติดตั้งกับเครื่องของผู้ใช้แต่ละคนแต่ละเครื่องโดยที่อาจ จะใช้ฐานข้อมูลเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน หรือฐานข้อมูลเครื่องใครเครื่องมันก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของโปรแกรมนั้นๆ หากเป็นกรณีที่ใช้ฐานข้อมูลร่วมกันจะมีการเก็บข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ แต่โปรแกรมที่ใช้งานจะอยู่ที่เครื่องใครเครื่องมัน ดังนั้นสเปกคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต้องใกล้เคียงกันตามข้อกำหนดของโปรแกรมนั้นๆ

2. Web based คือโปรแกรมที่ทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยรันผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ทั่วไป เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome, Opera, Safari ฯลฯ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมหรือสคริปต์ที่พัฒนาขึ้นในแต่ละเครื่อง เพราะจะเรียกใช้งานผ่านเซิร์ฟเวอร์ด้วยเว็บเบราเซอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับระบบจัดการข้อมูล และรายงานต่างๆ แต่ไม่เหมาะกับการควบคุมฮาร์ดแวร์เช่นลิ้นชักเก็บเงิน หรือฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่ระบบ Windows based สามารถสั่งงานได้

ดูจากข้อมูลแล้วแน่นอนว่า PHP ต้องอยู่ในหมวดการเขียนโปรแกรมแบบ Web based เพราะเราจะเก็บสคริปต์ทั้งหมดที่เขียนขึ้นมาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่เดียว และให้ผู้ใช้งานเรียกข้อมูลผ่านเว็บเบราเซอร์ต่างๆ มาแสดงผลที่หน้าจอนั่นเอง



ส่วนของข้อดีข้อเสียนั้น ผมจะขอข้ามไปเลยละกันเพราะโปรแกรมแต่ละภาษาถ้าใช้ให้เหมาะกับงานก็นับว่ามี ข้อดีเยอะกว่าข้อเสีย อันนี้แล้วแต่จะพิจารณาไป แต่จะขอบอกถึงข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของการเขียนโปรแกรม 2 ประเภทนี้ดังนี้

1. PHP เก็บโปรแกรมหรือคำสั่งทั้งหมดไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่น ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องอัพเดตโปรแกรมตาม (เพราะไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม) หากแต่ว่าเวอร์ชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปหมายถึงการแสดงผลที่เลิศหรูอลังการงาน สร้าง ด้วยสุดยอดเอฟเฟกต์ของเว็บเบราเซอร์รุ่นใหม่ๆล่ะก็ อันนี้ผู้ใช้งานก็ต้องอัพเดตโปรแกรมเว็บเบราเซอร์เพื่อใช้เรียกดูข้อมูลตาม ไปด้วยครับ

2. PHP ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมหรือคำสั่งไว้บนเครื่องผู้ใช้งานดังนั้นก็ประหยัด ฮาร์ดดิสก์ประหยัดแรมนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช้แรมนะครับ เพราะว่าโปรแกรมเว็บเบราเซอร์จะเป็นตัวช่วยเขมือบแรมให้เอง แต่อย่างน้อยก็ช่วยเรื่องสเปกคอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องกำหนดตายตัวตามโปรแกรม ที่พัฒนาขึ้น ขอแค่เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเว็บเบราเซอร์เพื่อเปิดดูข้อมูลจาก เซิร์ฟเวอร์ได้ก็พอ

3. PHP ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาทั้งหมดเป็นแบบโอเพ่นซอร์ส (Open source)

4. PHP พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่สามารถเรียกใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ หรือ ข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-platform) ไม่ว่าจะใช้ Windows, Linux, Ubuntu ก็สามารถเข้าใ้ช้งานได้ หรือแม้กระทั่งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เพียงแต่ปรับแต่งเรื่องการแสดงผลเพิ่มเติมเท่านั้น

นี่คือความคิดเห็นบางส่วนที่ได้สัมผัสจริง กับหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ชี้นำไปทางใดทางหนึ่ง หากจะเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างจากนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่บางอย่าง PHP ก็ไม่สามารถทำได้เหมือนโปรแกรมที่เป็น Windows based เช่นกัน

เกี่ยวกับ PHP แล้วมีส่วนที่ต้องศึกษาตามลำดับดังนี้
  1. โครงสร้างของ PHP
  2. เครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรม
  3. ตัวแปรใน PHP
  4. โอเปอเรเตอร์
  5. การทำงานแบบสร้างเงื่อนไข
  6. ข้อมูลชนิดอาร์เรย์
  7. การทำงานซ้ำ
  8. ฟังก์ชั่น
  9. การรับตัวแปรจากแบบฟอร์ม
  10. ทำงานกับฐานข้อมูล
  11. การเขียนโปรแกรม PHP แบบ OOP
นอกเหนือจากนี้ ก็คงจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับ PHP และการเขียนโปรแกรมติดต่อฐานข้อมูล MySQL เช่น
  • ทำความรู้จักกับ PHP Framework ที่ช่วยให้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้เร็วขึ้น
  • ทำความรู้จักกับ Jquery ที่เป็น Javascript Framework ที่แนะนำให้ใช้
  • ทำความรู้จักกับ CSS คำสั่งสำหรับจัดรูปแบบ และตกแต่งเว็บไซต์ให้สวยงาม
  • ทำความรู้จักดับ HTML คำสั่งสำหรับแสดงผลข้อมูลบนหน้าเว็บเบราเซอร์