- ทำไมต้องมีตัวแปร ให้วุ่นวาย?
: เพราะมีค่าบางค่าที่ไม่แน่นอน เป็นค่าที่ไม่ตายตัวจะแสดงผลตามที่ผู้ใช้เลือก หรือป้อนเข้ามาเช่นหน้าเว็บแสดงข้อมูลบุคคล เขียนหน้าเดียวแต่จะแสดงข้อมูลของหลายๆคนได้ ด้วยการเลือกแสดงผลจากตัวแปรที่ส่งมาที่หน้าเว็บในแต่ละครั้ง
- ตัวอย่างการใช้ตัวแปร จะใช้ในโอกาสใดบ้าง
: แสดงข้อมูลบุคคลตามที่เลือก เช่นดูข้อมูลนาย A, B, C เป็นต้น การใช้เก็บค่าที่ต้องการแสดงผลออกมาก่อนโดยมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าควรแสดง ข้อมูลไหน แล้วสั่งแสดงผลทีเดียวไม่ต้องสั่งแสดงผลทุกครั้งที่ตรวจสอบ
- ตั้งชื่อตัวแปรอย่างไรให้มาดูโค๊ดทีหลังแล้วเข้าใจง่าย
: ตั้งชื่อให้สื่อความหมายและไม่ยาวเกินไป อาจจะใช้ตัวย่อในการตั้งชื่อ เช่น ตัวแปรที่เก็บชื่อของนักเรียนก็ใช้ $student ถ้าจะใช้คำย่อเช่นนักเรียนชาย ก็ใช้ว่า $stdMan, นักเรียนหญิง $stdWoman หรือ$std_man, $std_woman ก็ได้แล้วแต่ชอบ หรือจะใส่คำเต็มๆไปไม่ย่อก็แล้วแต่สะดวกครับ
- การแสดงผลค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร
: PHP มีคำสั่งที่ใช้แสดงผลอยู่หลายคำสั่งครับ แต่นิยมใช้กันก็คือ echo เช่น echo “สวัสดีครับ”;
$name = “Songchai”;
echo “สวัสดีครับ คุณ “. $name;
- เปรียบเทียบวิธีการแสดงผล แบบใช้เครื่องหมายจุด(.) และ จุลภาค(,)
การแสดงผลนั้น สามารถใช้วิธีการแสดงข้อความได้ 2 แบบคือแบบใช้จุดเชื่อมต่อข้อความ และใช้คอมม่าในการเชื่อมคำสั่งแสดงผล
1. echo “สวัสดีครับ คุณ “. $name;
1. echo “สวัสดีครับ คุณ “, $name;
ในหลักการเพิ่มความเร็วให้กับโค๊ดที่เขียนนั้น ส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้แบบที่ 2 แต่ก็มีหลายกรณีที่เราจะต้องรวมตัวแปรก่อนแล้วค่อยแสดงผลทีหลัง ซึ่งอาจจะต้องใช้ผสมกันไปตามความเหมาะสม
เช่น
$name = “Songchai “; $surname = “Saetern”; $fullname = $name.” “.$surname;
//ไม่สามารถใช้ $fullname = $name, ” “, $surname ได้เพราะใช้ได้เฉพาะตอนแสดงผลเท่านั้น
echo “สวัสดีครับ คุณ “, $fullname;
ตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติม >>
ความสำคัญของการใช้งานตัวแปร ที่มองเห็นภาพชัดเจนที่สุดคือ เมื่อเราจะต้องแสดงชื่อ เดียวกันในหลายๆ ตำแหน่ง แล้วถ้าโค๊ดในหน้านั้นมีเป็นร้อยเป็นพันบรรทัด ลองคิดดูว่าจะต้องค้นหา และแทนที่กี่ครั้ง ถ้ามี 20 จุดก็ต้องค้นหา 20 ครั้ง ดังนั้นถ้าเก็บชื่อไว้ในตัวแปร แล้วก็แก้ไขชื่อที่ตัวแปรแค่ที่เดียว อีก 20 จุดที่เหลือก็จะเปลี่ยนค่าไปตามตัวแปรที่แก้ไข